Technics

นักกอล์ฟหลายๆท่านเคยสงสัยไหมคะว่า .. เราเป็นคนตีไม่ตรง หรือ เล็งไม่ตรงกันแน่ ทำไมการตีออนขึ้ให้ออนกรีนถึงยากจัง

ในระดับสากลการวิเคราะห์วงสวิงโดยละเอียดนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน บทความนี้จะอธิบายถึง 10 ตำแหน่งสำคัญในวงสวิง

อาการชิกเก้นวิง(Chicken Wing) หรือแขนงอ ขณะปะทะลูก หนึ่งในอาการยอดฮิตที่นักกอล์ฟหลายๆท่านคงประสบปัญหาอยู่และพยายามหาวิธีแก้

แบบฝึกหัดง่ายๆ แก้อาการโยก (SWAY) และไม่ถ่ายน้ำหนัก หากท่านนักกอล์ฟกำลังเผชิญกับปัญหาการตีไม่ได้ระยะและไม่แม่นลูก และกำลังหาสาเหตุว่า เกิดจากอะไร?

ต้องชิพข้ามอุปสรรค ที่มีจุดตกน้อย ชิพยังไงดี? ชิพข้ามบ่อทราย ชิพข้ามน้ำ หรือ อุปสรรค ไปยังหลุมที่มีจุดตกน้อย ควรต้องเล่นอย่างไร?

ท่ายืนกับท่าอิมแพค ควรเป็นอย่างไร ? ท่านนักกอล์ฟหลายๆท่านคงทราบดีว่า ท่ายืนกับท่าอิมแพ็คนั้นมีความแตกต่างกัน แต่ท่าอิมแพคที่ดีนั่น ควรเป็นยังไง ?

แขนขวาตอนขึ้นไม้ควรเป็นอย่างไร เคยสงสัยกันไหมคะ? ต้องกางศอกหรือหนีบศอกมากน้อยอย่างไร ไปดูแบบฝึกอย่างง่ายกันค่ะ

นักกอล์ฟหลายๆท่านคงเคยถูกสอนมาว่า การยืนจะต้องยืนให้ปลายเท้าตรง แนวเท้าสแควร์ขนานกับแนวเป้าหมาย ถึงจะสามารถสร้างวงสวิงที่ดีและบาลานซ์ได้

หากท่านนักกอล์ฟกำลังมีปัญหากับการขึ้นทีออฟแล้วรู้สึกไม่มั่นใจเวลาที่ต้องตีทวนลมบ่อยๆ อยากให้ท่านนักกอล์ฟลองทำความเข้าใจกับ หน้าไม้ และความสูงต่ำของที

การขึ้นไม้ที่หน้าไม้เปิดมากจนเกินไป ทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุในช่วงดาวสวิง หมุนตัวไม่ได้บ้าง หรือ ใช้มือตีมากจนเกินไป จนไม่ได้ระยะ

สำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นแล้ว การตีลูกให้ออกจากบังเกอร์ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตกทรายไลน์ปกติก็ว่ายากแล้ว ถ้าต้องเจอกับไลน์ที่เอียงผิดปกติ ควรทำอย่างไรดี

นักกอล์ฟหลายๆท่านคงเคยประสบกับปัญหา การพัตกระแทก พัตแล้วลูกกระโดดออกจากหน้าพัตเตอร์ ซึ่งหลายๆครั้งมักจะทำให้ลูกไม่กลิ้งไปตามไลน์ หรือลูกไม่โรลนั่นเอง (ROLL) สาเหตุหลักๆที่มักจะพบได้บ่อย ก็คือ การใช้ข้อมือในการพัตมากเกินไป ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้การพัตของเราไม่มีความสม่ำเสมอ

Club head vector ก็คือ เวกเตอร์ที่ทำมุมตั้งฉากกับหน้าไม้ ซึ่งเวกเตอร์ตัวนี้ ก็คือตัวที่บอกว่า หน้าไม้ของเรา เปิด ปิด หรือ สแควร์ >> การสแควร์หน้าไม้ สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่า เราจับกริปแบบไหน❔

หากปัญหาที่ท่านนักกอล์ฟพบเจออยู่ในตอนนี้ คือการตีไม่แม่นลูก ขอให้ท่านนักกอล์ฟลองสังเกตและทำความเข้าใจกับสิ่งนี้ดูค่ะ

นักกอล์ฟมือใหม่หลายๆท่านอาจจะเจอปัญหานี้อยู่บ่อยๆ จนท้อกับการแก้ไขวงสวิงของตัวเอง บทความในวันนี้ท่านนักกอล์ฟสามารถฝึกซ้อมได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน เมษ์ขอตั้งชื่อบทความนี้ว่า “Find your magic wall! “

นักกอล์ฟหลายๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่า การจะเล่นกอล์ฟให้ได้ดี ตีให้ได้ไกลนั้น ต้องฝึกสร้างวงสวิงด้วยการหมุน

หากท่านเป็นหนึ่งในนักกอล์ฟที่ประสบปัญหาสูญเสียบาลานซ์ของวงสวิงอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ควรทำเป็นลำดับคือ เช็คท่ายืนของตัวเอง

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า กีฬาแทบทุกชนิดในสมัยนี้ จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา กอล์ฟเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์เข้ามามีส่วนในการเล่น เพราะฉะนั้นการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมจึงเป็นองค์ประกอบหลักๆที่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้เล่นได้เปรียบหรือเสียเปรียบ , พัฒนาเร็วหรือพัฒนาช้า อุปกรณ์ก็มีส่วนสำคัญ

การเล่นลูกสั้นรอบๆกรีน ถือว่าเป็นลูกที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าช็อตไดร์ฟเวอร์หรือแอพโพรชเลย เพราะมันเป็นลูกที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะเป็นตัวชี้ขาดของการแพ้ชนะในหลุมนั้นๆเลยก็ว่าได้ หรือเรียกง่ายๆก็คือช็อตทำสกอร์

ปัญหาสามพัตต์จะหมดไป จากการฝึกซ้อมด้วยดริลง่ายๆ

เชื่อว่านักกอล์ฟหลายๆท่านน่าจะพอทราบถึง Kinematic sequence ตอนดาวน์สวิงนั้นก็คือ Ground to sky หรือ ล่างขึ้นบน บทความในวันนี้เมษ์อยากจะพูดถึงประเภทของแรงและลำดับในการออกแรงในช่วงดาวน์สวิง

เชื่อว่าท่านนักกอล์ฟส่วนใหญ่ถูกสอนให้ถ่ายน้ำหนักมาด้านขวาประมาณ 80% ตอนแบ็คสวิง แล้วดาวสวิงถึงถ่ายน้ำหนักมาทางด้านซ้าย (สำหรับนักกอล์ฟถนัดขวา) การถ่ายน้ำหนักแบบนั้นเหมาะสำหรับนักกอล์ฟแค่ประเภทเดียวเท่านั้น

อิมแพคที่ดีและมีพลังสำหรับเหล็กนั้น เราต้องการมุมเข้าปะทะในมุมกด (Attack angle -) เพราะฉะนั้น ในจังหวะอิมแพคมือจะต้องอยู่หน้าลูก (Press forward) เพื่อให้ก้านเอียงไปด้านหน้า (Shaft lean forward) และจุดต่ำสุดของไม้อยู่หน้าลูก

เชื่อว่านักกอล์ฟเกือบทุกท่านเข้าในเรื่องหน้าไม้เปิด/ปิด มีผลอย่างไรกับลูกกอล์ฟ 
 หน้าไม่เปิด ลูกออกขวา หน้าไม้ปิด ลูกเข้าซ้าย

ซึ่งแท้จริงแล้ว Lie Angle ก็มีผลต่อหน้าไม้ จึงส่งผลโดยตรงกับทิศทางของลูก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้